ทรัพย์สินระหว่างสามี-ภริยา
หญิงชายใดสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ทรัพย์ที่ทั้งสองฝ่ายหามาได้ถือว่าเป็นสินสมรส จะเห็นได้ว่า ทรัพย์สินที่เป็นเป็นสินสมรสนั้น จะต้องได้มาระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมาย (หมายถึง การสมรสตามกฎหมาย คือ ได้จดทะเบียนสมรสแล้วต่อหน้านายทะเบียน) ดังนั้น ทรัพย์สินใดที่ทั้งสองฝ่ายมีก่อนที่จะสมรส ถือว่าเ ป็นสินส่วนตัว
@ ปกติทรัพย์สินระหว่างสามี-ภริยาก็เป็นไปตามกฎหมายกำหนด เว้นแต่ มีข้อตกลงก่อนสมรสที่แตกต่างไปจากนี้ ก็สามารถใช้บังคับได้แต่ต้องทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงจะใช้บังคับได้ตามกฎหมาย การพิจารณาว่าทรัพย์ใดเป็นสินสมรสหรือสินส่วนตัวนั้น พิจารณา ขณะสมรส ทรัพย์ใดได้มาก่อนสมรสถือว่า เป็นสินส่วนตัว ทรัพย์ใดได้มาระหว่าสมรสถือว่าเป็นสินสมรส ปัญหาที่มักสงสัยในหมู่นักศึกษากฎหมายคือ ดอกผลที่เกิดขึ้นมาจากสินส่วนตัวเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส คำตอบในข้อสงสัยนี้คือ ดอกผลที่เกิดมานั้น เป็นสินสมรส เนื่องจาก ดอกผลนั้นได้เกิดขึ้นมาในระหว่างสมรสนั่นเอง
ตัวอย่าง เช่น
นางสาวสายมีบ้านอยุ่ ๑ หลัง ราคาประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ภายหลังนางสาวสายได้สมรสกับนายภัทร เมื่อนางสาวสายสมรสแล้วจึงได้ย้ายเข้าไปอยุ่ในบ้านของนายภัทรสามี จึงได้นำบ้านเดิมของตนออกให้ให้นางฟองนวลเช่าในราคาเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ดังนี้ ค่าเช่าบ้านของนางสาวสายนั้น ต้องถือว่าเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินส่วนตัวมาในระหว่าสมรส ค่าเช่าบ้านดังกล่าวจึงตกเป็นสินสมรส
วิธีคิดง่ายๆ คือ ทรัพย์ใดที่เป็นสินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเงินสด, บ้าน, ที่ดิน เมื่อระหว่างสมรสทรัพยนั้นมีดอกผลใดๆ เกิดขึ้นมา ดอกผลนั้นย่อมตกเป็นสินสมรส ทั้งนี้ รวมถึงสัตว์เลี้ยงและสัตว์พาหนะทั้งหลายด้วย
อีกกรณีหนึ่งคือ หากหญิง-ชาย มีทรัพย์ร่วมกันก่อนสมรส เช่น สร้างบ้านหรือทำกิจการร่วมกัน ภายหลังสมรสแล้ว บ้านหรือกิจการนั้น ตกเป็นทรัพย์ประเภทใด กรณีเช่นนี้ ให้พิจารณาตามมาตรา ๑๔๗๑ (๑) คือ ฝ่ายใดฝ่าหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ดังนั้น เมื่อบ้านหรือกิจการนั้น มีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัว แม้ภายหลังหญิง-ชายนั้นสมรสแล้ว บ้านหรือกิจการนั้นก็ยังเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย โดยเป็นการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
**ปัญหาอีกประการที่มักถกเถียงกันคือ เมื่อหญิงมีสามี (หญิงที่สมรสแล้ว ในทีนี้หมายถึง การสมรสตามกฎหมาย คือ ได้จดทะเบียนสมรสแล้วต่อนายทะเบียน) มีความประสงค์จะฟ้องร้องคดีจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจามสามีหรือไม่ ปัญหาในเรื่องนี้มีคำตอบอยู่ในมาตรา ๑๔๗๖ และ ๑๔๗๗ แล้วคือ การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาพึงจัดการร่วมกันนั้นต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายเสียก่อน หากเป็นกรณีที่ฟ้องคดีอาญาก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๐๓
การฟ้องและการดำเนินคดีไม่อยู่ในบังคับของการจัดการสินสมรส ที่ ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๖ บัญญัติให้สามีภริยา ต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้ร้ับความจากอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๔๗๗ ยังได้รับรองให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องร้องต่อสู้คดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ด้วย ดังนั้น แม้จะได้ความตามข้อนำสืบของจำเลยโดยดจกท์มิได้นำสืบให้เห็นเป้นอย่างอื่นว่าดจกท์เป็นหญิงมีสามาีโดยชอบด้วยกฎหมาย โจกท์ก้มีอำนาจฟ้อง
ตัวอย่าง เช่น
นางสาวสายมีบ้านอยุ่ ๑ หลัง ราคาประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ภายหลังนางสาวสายได้สมรสกับนายภัทร เมื่อนางสาวสายสมรสแล้วจึงได้ย้ายเข้าไปอยุ่ในบ้านของนายภัทรสามี จึงได้นำบ้านเดิมของตนออกให้ให้นางฟองนวลเช่าในราคาเดือนละ ๕,๐๐๐ บาท ดังนี้ ค่าเช่าบ้านของนางสาวสายนั้น ต้องถือว่าเป็นดอกผลที่เกิดขึ้นจากสินส่วนตัวมาในระหว่าสมรส ค่าเช่าบ้านดังกล่าวจึงตกเป็นสินสมรส
วิธีคิดง่ายๆ คือ ทรัพย์ใดที่เป็นสินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเงินสด, บ้าน, ที่ดิน เมื่อระหว่างสมรสทรัพยนั้นมีดอกผลใดๆ เกิดขึ้นมา ดอกผลนั้นย่อมตกเป็นสินสมรส ทั้งนี้ รวมถึงสัตว์เลี้ยงและสัตว์พาหนะทั้งหลายด้วย
อีกกรณีหนึ่งคือ หากหญิง-ชาย มีทรัพย์ร่วมกันก่อนสมรส เช่น สร้างบ้านหรือทำกิจการร่วมกัน ภายหลังสมรสแล้ว บ้านหรือกิจการนั้น ตกเป็นทรัพย์ประเภทใด กรณีเช่นนี้ ให้พิจารณาตามมาตรา ๑๔๗๑ (๑) คือ ฝ่ายใดฝ่าหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ดังนั้น เมื่อบ้านหรือกิจการนั้น มีอยู่ก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัว แม้ภายหลังหญิง-ชายนั้นสมรสแล้ว บ้านหรือกิจการนั้นก็ยังเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย โดยเป็นการถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
**ปัญหาอีกประการที่มักถกเถียงกันคือ เมื่อหญิงมีสามี (หญิงที่สมรสแล้ว ในทีนี้หมายถึง การสมรสตามกฎหมาย คือ ได้จดทะเบียนสมรสแล้วต่อนายทะเบียน) มีความประสงค์จะฟ้องร้องคดีจำเป็นต้องได้รับความยินยอมจามสามีหรือไม่ ปัญหาในเรื่องนี้มีคำตอบอยู่ในมาตรา ๑๔๗๖ และ ๑๔๗๗ แล้วคือ การฟ้องคดีที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่สามีภริยาพึงจัดการร่วมกันนั้นต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายเสียก่อน หากเป็นกรณีที่ฟ้องคดีอาญาก็ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่าย
มาตรา ๑๔๗๖ สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
(๒) ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
(๓) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
(๔) ให้กู้ยืมเงิน
(๕) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
(๖) ประนีประนอมยอมความ
(๗) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
(๘) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
มาตรา ๑๔๗๖/๑ สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๔๗๖ ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติในมาตรา ๑๔๖๕ และมาตรา ๑๔๖๖ ในกรณีดังกล่าวนี้ การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส
ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของมาตรา ๑๔๗๖ การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้เป็นไปตามมาตรา ๑๔๗๖
มาตรา ๑๔๗๗ สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรส หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าว ให้ถือว่าเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๐๐๓
การฟ้องและการดำเนินคดีไม่อยู่ในบังคับของการจัดการสินสมรส ที่ ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๖ บัญญัติให้สามีภริยา ต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้ร้ับความจากอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ตามมาตรา ๑๔๗๗ ยังได้รับรองให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องร้องต่อสู้คดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ด้วย ดังนั้น แม้จะได้ความตามข้อนำสืบของจำเลยโดยดจกท์มิได้นำสืบให้เห็นเป้นอย่างอื่นว่าดจกท์เป็นหญิงมีสามาีโดยชอบด้วยกฎหมาย โจกท์ก้มีอำนาจฟ้อง
________________________________
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน 1,011,156.19 บาท กับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงิน 950,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวน 950,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 10 มีนาคม 2544 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 4,000 บาท
จำเลยอุทธรณ์โดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลอุทธรณ์ภาค9 พิพากษายืน ให้จำเลยใช้ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ 3,000 บาท แทนโจทก์
จำเลยฎีกาโดยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “...ข้อเท็จจริงที่คู่ความต่างมิได้โต้เถียงกันรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า โจทก์และจำเลยทำธุรกิจค้าทองรูปพรรณโดยจำเลยเป็นผู้ซื้อจากโจทก์ไปขายต่อแก่ลูกค้า และจำเลยทำหนังสือสัญญากู้เงินให้ไว้แก่โจทก์ กับทั้งจำเลยค้างชำระค่าทองรูปพรรณที่จำเลยรับไปจากโจทก์ด้วย
ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า โจทก์ซึ่งเป็นหญิงมีสามีมีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ในปัญหานี้นอกจากการฟ้องคดีการดำเนินคดีจะมิใช่กรณีที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 บัญญัติให้สามีและภริยาต้องจัดการร่วมกันหรือต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งแล้ว ตามมาตรา 1477 ยังได้บัญญัติรับรองให้สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งลำพังมีสิทธิฟ้องต่อสู้หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุงรักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรสได้ด้วย ดังนั้นแม้จะได้ความตามข้อนำสืบของจำเลยโดยโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่นว่า โจทก์เป็นหญิงมีสามีมีคู่สมรส โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้อง ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่า จำเลยต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญากู้เงินแก่โจทก์หรือไม่ ข้อนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยได้รับเงินไปตามหลักฐานหนังสือสัญญากู้เงินท้ายคำฟ้อง โดยโจทก์เข้าเบิกความนำสืบว่า จำเลยได้ซื้อทองรูปพรรณจากโจทก์ไปขายต่อ และค้างชำระราคาค่าทองรูปพรรณดังกล่าวหลายครั้ง รวมเป็นเงิน 950,000 บาท ต่อมาจำเลยจึงตกลงทำหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามจำนวนเงินที่ค้างดังกล่าว เบี้องแรกย่อมเห็นได้ว่า ตามทางนำสืบของโจทก์นั้น หนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวมิได้เกิดจากโจทก์ให้จำเลยกู้และรับเงินไปดังคำฟ้องแต่มีมูลหนี้มาจากจำเลยตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระค่าทองรูปพรรณแก่โจทก์และจำเลยยังมิได้ชำระ ถึงอย่างไรก็ตามถ้าเป็นความจริงดังที่นำสืบ ก็ถือได้ว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่จากหนี้เดิมที่ค้างชำระมาเป็นหนี้ตามสัญญากู้เงิน โจทก์ย่อมฟ้องบังคับเอาได้ตามหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าว กรณีมิใช่เป็นดังที่จำเลยหยิบยกเป็นข้อโต้แย้งในฎีกา ส่วนที่จำเลยฎีกาต่อไปว่า พยานหลักฐานจำเลยมีน้ำหนักรับฟังดีกว่าพยานหลักฐานโจทก์นั้น เห็นว่า สัญญากู้เงินมีข้อความระบุว่า เพื่อเป็นหลักฐานจำเลยได้มอบเช็คธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาเพชรเกษม รวม 5 ฉบับ เป็นเงิน 950,000 บาท ให้โจทก์ยึดถือไว้ด้วย เช็คดังกล่าวนี้จำเลยเบิกความว่า โจทก์เป็นผู้พาจำเลยไปเปิดบัญชีที่ธนาคารกสิกรไทย จำกัด สาขาเพชรเกษม แล้วให้จำเลยออกเช็คพร้อมกับทำสัญญากู้เงินให้โจทก์นำไปแสดงต่อร้านทองเพื่อนำทองรูปพรรณมาให้จำเลยขายอีกต่อหนึ่ง ซึ่งหากเป็นความจริงจำเลยก็ไม่น่าจะมีบัญชีที่ธนาคารดังกล่าวถึง 2 บัญชีดังที่เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านร้านทองที่จำเลยอ้างถึงก็ไม่ปรากฏว่าเป็นร้านใด จำเลยอ้างว่าทำสัญญากู้เงินให้โจทก์เพื่อนำไปแสดงต่อร้านทอง เป็นการโต้เถียงว่าสัญญากู้เงินไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยกลับนำสืบต่อไปว่าจำเลยค้างชำระค่าทองรูปพรรณแก่โจทก์เพียง 50,000 บาท หนี้ส่วนที่เหลือตามสัญญากู้เงินเป็นหนี้ส่วนของนางรัตติกาล ซึ่งเป็นผู้ที่จำเลยแนะนำให้โจทก์รู้จักและทำธุรกิจซื้อขายทองรูปพรรณอยู่ด้วยกัน เท่ากับเป็นการยอมรับว่าสัญญากู้เงินมีมูลหนี้ เหตุผลตามทางนำสืบของจำเลยจึงกลับไปกลับมา โดยเฉพาะคดีนี้จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่าสัญญากู้เงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นเอกสารปลอม จึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยค้างชำระหนี้โจทก์เพียง 50,000 บาท ที่จำเลยนำสืบมาจึงรับฟังไม่ได้คดีฟังได้ตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินโดยมีมูลหนี้มาจากค่าทองรูปพรรณที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญากู้เงินดังกล่าว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันมานั้นชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน โจทก์ไม่แก้ฎีกา จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นฎีกาให้
( พินิจ สายสอาด - อร่าม เสนามนตรี - อร่าม แย้มสอาด )
By ณัชกานต์
By ณัชกานต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น