**ความหมายของสัญญาเช่าซื้อ คือ สัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินของตนออกให้ผู้อื่นเช่าเพื่อใช้สอยหรือเพื่อให้ได้ประโยชน์และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์นั้นหรือจะให้ทรัพย์สินที่เช่าตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อเมื่อได้ใช้เงินจนครบตามที่ตกลงไว้โดยการชำระเป็นงวดๆจนครบตามข้อตกลง (ป.พ.พ.มาตรา ๕๗๒)
*** สัญญาเช่าซื้อมิใช่สัญญาซื้อขายผ่อนส่งแม้ว่าจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันเรื่องชำระราคาเป็นงวดๆ ก็ตามเพราะการซื้อขายผ่อนส่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของผู้ซื้อทันทีขณะทำสัญญาไม่ต้องรอให้ชำระราคาครบแต่ประการใดส่วนเรื่องสัญญาเช่าซื้อ เมื่อผู้เช่าบอกเลิกสัญญาบรรดาเงินที่ได้ชำระแล้วให้ริบเป็นเจ้าของทรัพย์สินและเจ้าของทรัพย์สินชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่เช่าได้ (ป.พ.พ.มาตรา ๕๗๔ วรรคแรก)
สัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นหนังสือ จะทำด้วยวาจาไม่ได้ มิฉะนั้นจะเป็นโมฆะเสียเปล่าทำให้ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพันผู้เช่าซื้อกับผู้ให้เช่าซื้อได้การทำสัญญาเป็นหนังสือนั้นจะทำกันเองก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เช่าซื้อจะเขียนสัญญาเอง หรือจะใช้แบบพิมพ์ที่มีไว้กรอกข้อความลงไปก็ได้หรือจะให้ใครเขียนหรือพิมพ์ให้ทั้งฉบับก็ได้แต่สัญญานั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้เช่าซื้อ และผู้ให้เช่าซื้อทั้งสองฝ่ายหากมีลายช่อของคู่สัญญาแต่เพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เอกสารนั้นหาใช่สัญญาเช่าซื้อไม่ (มาตรา ๕๗๒ วรรคท้าย)
ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาในเวลาใดก็ได้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินกลับคืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยตนเองจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งคืนการที่กฎหมายบัญญัติไว้เช่นนี้ก็เพราะเงินที่ผู้เช่าซื้อได้ชำระให้แก่ผู้เช่าซื้อเป็นงวดๆเปรียบเสมือนการชำระค่าเช่า ดังนั้นผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาก็ได้การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาจะต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่เจ้าของถ้ามีการแสดงเจตนาว่า จะคืนทรัพย์สินในภายหลัง หาเป็นการเลิกสัญญาที่สมบูรณ์ไม่การบอกเลิกสัญญาจะต้องควบคู่ไปกับการส่งคืนในขณะเดียวกัน ผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระเงินสองคราวติดกันหรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อใดก็ได้ส่วนเงินที่ได้ชำระราคามาแล้วแต่ก่อนให้ตกเป็นสิทธิของเจ้าของทรัพย์สินโดยถือเสมือนว่าเป็นค่าเช่า ผู้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกคืนจากเจ้าของได้และเจ้าของทรัพย์สินไม่มีสิทธิเรียกเงินที่ค้างชำระได้การผิดนัดไม่ชำระจะต้องเป็นการไม่ชำระสองงวดติดต่อกันหากผิดนัดไม่ใช้เงินเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้งแต่ไม่ติดกัน เช่นผิดนัดไม่ใช้เงินเดือนกุมภาพันธ์, เมษายน, มิถุนายน, สิงหาคม ฯลฯ แต่เช่าซื้อเดือน มกราคม, มีนาคม, พฤษภาคม, กรกฎาคม ฯลฯ สลับกันไปเช่นนี้แม้จะผิดนัดกี่ครั้งกี่หนก็ตามผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
** ในการผิดสัญญาในส่วนที่สาระสำคัญหมายความว่าสัญญาเช่าซื้อนั้นมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เช่าซื้อมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินและเคารพในกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าจะชำระราคาครบตามข้อตกลงถ้าผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินไปจำนำและไม่ชำระเงินถือว่าผิดสัญญาเช่าซื้อของมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและผู้เช่าซื้อมีความผิดอาญาฐานยักยอกทรัพย์ได้อีกเนื่องจากกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่
** อย่างไรก็ดี เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะเหตุผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กฎหมายกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเข้าครอบครองทรัพย์นั้นได้ตามกฎหมาย
***ในกรณีที่เป็นการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เมื่อผู้เช่าซื้อผิดสัญญาไม่ยอมชำระราคา ๓ งวดติดต่อกัน เมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาแล้ว ปัญหาคือ เมื่อสัญญาเลิกแล้ว ผู้เช่าซื้อไม่ยอมส่งคืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดเอาทรัพย์นั้นได้โดยพละการ ผู้ให้เช่าซื้อจำต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับให้ผู้เช่าซื้อส่งมอบทรัพย์และชำระเงินที่ค้างชำระให้แก่ผู้ซื้อ และหากทรัพย์นั้นต้องตกอยู่ในการบังคับคดี หรือผู้ให้เช่าซื้อได้เข้าครอบครองทรัพย์และจะขายให้แก่บุคคลภายนอก หรือมีการขายทอดตลาดทรัพย์นั้น จำต้องบอกกล่าวให้แก่ผู้เช่าซื้อภายในกำหนดเวลา ๗ วัน ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๓ มาตรา ๓ (๔) และ (๕) ซึ่งได้กำหนดไว้ว่า
(๔) ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด ๓ งวดติดๆ กัน และผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ใช้เงินรายงวดที่ค้างชำระนั้นภายในเวลาอย่างน้อย ๓๐ วัน นับแต่วันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือและผู้เช่าซื้อละเลยเสียไม่ปฏิบัติตามหนังสือบอกกล่าวนั้น
(๕) เมื่อผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อและกลับเข้าครอบครองรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่ให้เช่าซื้อ เพื่อนำออกขายให้แก่บุคคลอื่น
ก. ก่อนขายให้แก่บุคคลอื่น ผู้ให้เช่าซื้อต้องแจ้งล่วงหน้าให้ผู้เช่าซื้อทราบเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า ๗ วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิซื้อได้ตามมูลหนี้ส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ
ข. ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อนำรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ออกขาย หากได้ราคาเกินกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อจะคืนเงินส่วนที่เกินนั้นให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่หากได้ราคาน้อยกว่ามูลหนี้ในส่วนที่ขาดอยู่ตามสัญญาเช่าซื้อผู้เช่าซื้อจะรับผิดส่วนที่ขาดนั้นเฉพาะกรณีการขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาดที่เหมาะสมเท่านั้น
*** ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๒, ๕๗๓ และ ๕๗๔ นั้น เป็นกรณีเช่าซื้อทรัพย์สินทั่วไป ที่มิใช่รถยนต์ หรือจักรยานยนต์ เพราะการเช่าซื้อทรัพย์สินทั่วไปตามมาตรา ๕๗๒ ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้น ได้กำหนดถึงการผิดนัดชำระราคาไว้ “ในกรณีผิดนัดไม่ใช่เงินสองคราวติดๆ กัน หรือกระทำผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสำคัญ เจ้าของทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้....” ในขณะที่การเช่าซื้อรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์นั้น ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ฯ ระบุการผิดนัดชำระราคาไว้ตามมาตรา ๓ (๔) ว่า “.....ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ในกรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อรายงวด ๓ งวดติดๆ กัน....”
ดังนั้น การเช่าซื้อรถยนต์ หรือรถจักรยานยนต์ การผิดนัดชำระราคารายงวดจึงใช้บังคับตาม ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. ๒๕๔๓ ดังกล่าว
By ณัชกานต์
By ณัชกานต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น