วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์

การยื่นคำร้องขอเป็นผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์

** ความหมาย คนไร้ความสามารถ คือ ป็นบุคคลวิกลจริต และ
๑.ต้องเป็นอย่างมาก คือ วิกลจริตชนิดที่พูดจาไม่รู้เรื่อง ไม่มีความรู้สึกผิดชอบใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่รู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไปบ้าง
๒.เป็นอยู่ประจำ คือ วิกลจริตอยู่สม่ำเสมอ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอยู่ตลอดเวลา อาจมีเวลาที่มีสติอย่างคนธรรมดาบางเวลา ในเวลาต่อมาก็เกิดวิกลจริตอีก เช่นนี้เรื่อยไป 

คนเสมือนไร้ความสามารถ คือ ผู้ที่มีเหตุบกพร่องบางอย่างดังนี้
๑. กายพิการ ไม่ว่าส่วนไหนของร่างกายจะพิการก็ได้ เช่น หูหนวก ตาบอด เป็นใบ้ แขนขาด ขาขาด ซึ่งอาจเป็นมาโดยกำเนิด หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น เกิดจากอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือชราภาพ
๒. จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หมายถึงบุคคลที่จิตผิดปกติ สมองพิการ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกลจริต ยังมีความคิดคำนึงอยู่บ้าง และสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้ด้วยตนเอง
๓. ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ ชอบใช้จ่ายฟุ่มเฟือย หรือใช้จ่ายเงินเกินกว่าฐานะอยู่เป็นประจำ ซึ่งทำให้ทรัพย์สมบัติร่อยหรอลงไปทุกวัน ในที่สุดก็จะหมดตัว และการใช้จ่ายดังกล่าวไม่เกิดประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ
๔. ติดสุรายาเมา เช่น ดื่มสุราจัด เมาตลอดเวลา ติดฝิ่น เฮโรอีน เป็นประจำจนละเว้นเสียไม่ได้ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ความรู้สึกผิดชอบลดน้อยลงไป  
หรือบุคคลที่ไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว เพราะเมื่อมีเหตุบกพร่อง 5 ประการดังกล่าวแล้ว บุคคลนั้นยังต้องไม่สามารถจะจัดทำการงานโดยตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว

ผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาล
๑.คู่สมรส
๒.ผู้บุพการี คือ บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด
๓.ผู้สืบสันดาน คือ ลูก หลาน เหลน ลื่อ
๔.ผู้ปกครอง หรือผู้พิทักษ์
๕.ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่
๖. พนักงานอัยการ

เอกสารที่ต้องนำมายื่นในการขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

๑. สำเนาทะเบียนบ้าน และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลที่จะให้ศาลมีคำสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
๒. รายงานความเห็นของแพทย์ที่ลงความเห็นว่าบุตรที่จะให้ศาลสั่งมีความผิดปกติอย่างไร
๓. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องขอและผู้ที่จะให้ศาลสั่ง เช่น ทะเบียนสมรส เอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร
๔.หลักฐานอื่น ๆ เช่น ภาพถ่ายของบุคคลไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

เขตอำนาจศาลที่พิจารณาคดี

๑. ศาลที่มูลคดีเกิดขึ้น
๒. ศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล (ศาลเยาวชนและครอบครัว)

ผลของคำสั่งศาล

๑. บุคคลไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลของผู้อนุบาล บุคคลเสมือนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความพิทักษ์ของผู้พิทักษ์
๒. บุคคลดังกล่าวถูกกฎหมายจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม หรือไม่สามารถทำนิติกรรมบางประเภท หรือต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์เสียก่อน หรือผู้อนุบาลเป็นผู้ทำแทน

หลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง

มาตรา ๒๘ บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการีกล่าวคือบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี ผู้สืบสันดานกล่าวคือ ลูก หลาน เหลน ลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้นอยู่ก็ดี หรือพนักงานอัยการก็ดี ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
    บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล การแต่งตั้งผู้อนุบาล อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาล ให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ ๕ แห่งประมวลกฎหมายนี้
    คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา ๒๙ การใด ๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ

มาตรา ๓๐ การใด ๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่ และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต

มาตรา ๓๑ ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้วและเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือบุคคลใด ๆ ดังกล่าวมาในมาตรา ๒๘ร้องขอต่อศาลก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคนไร้ความสามารถนั้น

มาตรา ๓๓ ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ ความสามารถเพราะวิกลจริต ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้น ไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ เมื่อศาลเห็นสมควรหรือ เมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา ๒๘ ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ หรือในคดีที่มี การร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถเพราะ มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้น วิกลจริต เมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา ๒๘ ศาลอาจสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้

มาตรา ๑๔๖๓ ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามีเหตุสำคัญศาลจะตั้งผู้อื่น เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้

By ณัชกานต์

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผู้มีสิทธิฟ้องคดีอาญา

เมื่อได้มีคดีอาญาเกิดขึ้นผู้ที่มีสิทธิฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั้น ป.วิ.อาญา ได้บัญญัติไว้ดังนี้

              มาตรา ๒๘ บุคคลเหล่านี้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาล

              () พนักงานอัยการ
พนักงานอัยการ ตามมาตรา ๒ (๕) ได้นิยามความหมายเอาไว้ว่า หมายความถึง เจ้าพนักงานผู้ที่มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการ (ปัจจุบันคือ สำนักงานอัยการสูงสุด) หรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น  
***  พนักงานอัยการฟ้องคดีแทนต้องมีการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายก่อน   ส่วนกรณีที่ผู้เสียหายฟ้องคดีเองนั้น ไม่จำเป็นต้องมีการสอบสวนความผิดนั้นมาก่อน  เพราะศาลต้องไต่สวนมูลฟ้อง ตามมาตรา ๑๖๒ ก่อนอยู่แล้ว และถ้ามีผู้เสียหายหลายคนผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องคดีแล้ว  ผู้เสียหายคนอื่นก็ยังมีสิทธิฟ้องผู้กระทำผิดได้อีก 

เจ้าพนักงานอื่น ในมาตรา ๒ (๕) หมายความถึง เจ้าพนักงานอื่นที่มีอำนาจฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ซึ่งต้องขึ้นอยุ่กับบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลได้ เช่น พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา ๓๙ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๓๙ วรรคสอง ดังนั้น เจ้าหน้าที่ผู้คุ้มครองผู้บริโภคที่คณะกรรมการแต่งตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษฉบับนี้ถือได้ว่าเป็น เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจเช่นนั้น และย่อมมีฐานะเป็นพนักงานอัยการ
ในอีกกรณีหนึ่งคือ การฟ้องการสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา ตาม มาตรา ๑๐๖ และมาตรา ๑๑๓ นั้น เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันกับพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญาประกันได้ แม้ตำแหน่งนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็ตาม

ฎีกาที่ ๗๓๐/๒๕๔๔
           แม้พนักงานสอบสวนจะไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่ก็เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการอันกฎหมายกำหนดไว้ให้มีอำนาจทำสัญญาประกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 และ มาตรา 113 ฉะนั้น จึงย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาประกันในฐานะเจ้าพนักงานตามอำนาจแห่งหน้าที่โดยชื่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ดังนี้ เมื่อจำเลยทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาไปจากการควบคุมตัวของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 112และจำเลยผิดสัญญาประกันดังกล่าว พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร บ. ย่อมมีอำนาจเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยตามสัญญาประกันได้ กรมตำรวจไม่ใช่พนักงานสอบสวนและมิได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย จะฟ้องเองหรือมอบอำนาจให้ฟ้องหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องจำเลยทำสัญญาประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8หยิบยกปัญหาข้อนี้ตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 ทั้งปัญหาเกี่ยวกับการให้ความยินยอมก็ไม่ใช่เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสอง

          () ผู้เสียหาย
ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีอาญาคือ "ผู้เสียหาย" โดยตรงและบุคคลผู้มีอำนาจจัดการแทนตามมาตรา ๔, ๕ และ ๖ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๒ (๔) โดยมาตรา ๓ (๒) บัญญัติให้บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖ มีอำนาจ เป็นโจทก์ฟ่องคดีอาญา หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์ กับพนักงานอัยการ และมาตรา ๓ (๓) ยังบัญญัติให้มีอำนาจ ฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาด้วย
*** ผู้เยาว์และผู้ไร้ความสามารถฟ้องคดีอาญาได้หรือไม่ 
ฎีกาที่ ๕๖๓/๒๕๑๗ 
                     ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ โดยบิดาให้ความยินยอมนั้นมิได้เป็นไปตามบทบังคับอันว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย เพราะในคดีอาญานั้นผู้เยาว์จะเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ต้องกระทำโดยผู้แทน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3,5 และ 6

@@@ จะเห็นว่า เมื่อมาตรา ๕ และ ๖ ได้บัญญัติกำหนดผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เยาว์และผู้ไร้ความสามารถไว้โดยเฉพาะแล้ว ดังนั้น ผู้เยาว์แม้ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่สามารถยื่นฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามมาตรา ๓๐ ได้ 

** ดังนั้น แม้นมีการฟ้องคดีขึ้นมาศาลก็ชอบที่จะสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถในการดำเนินคดีได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีที่ไม่จำเป้นเพราะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

มาตรา ๓๐ คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
           ***  ผู้เสียหายสามารถขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้ทุกคดีที่เค้าเสียหาย  และอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการต้องชอบด้วยกฎหมายด้วย  โจทก์ร่วมจึงจะขอเข้าเป็นโจทก์ได้  ถ้าคำฟ้องไม่ชอบคำร้องขอย่อมตกไป  แต่ถ้าเป็นพนักงานอัยการจะเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้คดีนั้นต้องเป็นคดีอาญาแผ่นดินเท่านั้น
มาตรา ๓๑  คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วพนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้
           ***  คดีที่พนักงานอัยการจะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์นั้นต้องเป็นคดีอาญาแผ่นดิน  จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีความผิดต่อส่วนตัวไม่ได้  แต่หากเป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนนั้นย่อมทำได้โดยต้องมีการร้องทุกข์ตามกฎหมายเสียก่อน  ในคดีความผิดต่อส่วนตัวที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์แล้วภายหลังผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์ อัยการจะดำเนินคดีต่อไปไม่ได้ต้องสั่งยุติการดำเนินคดี หรือถ้ามีการดำเนินคดีในชั้นศาล หรือมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดก็ต้องสั่งยุติการดำเนินคดีเช่นกัน
มาตรา ๓๒  เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใดๆ ในกระบวนพิจารณาพนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้นๆ ได้
        ***มาตรา  กฎหมายให้อำนาจในการห้ามมิให้ผู้เสียหายกระทำการใดๆ ที่อาจทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย เฉพาะอัยการเท่านั้น แต่มิได้ให้อำนาจเช่นว่านี้แก่ผู้เสียหายด้วย
              มาตรา ๓๓  มาตรา ๓๒  เมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกับถ้าพนักงานอัยการเห็นว่าผู้เสียหายจะกระทำให้คดีของอัยการเสียหาย โดยกระทำหรือละเว้นกระทำการใดๆ ในกระบวนพิจารณาพนักงานอัยการมีอำนาจร้องต่อศาลให้สั่งผู้เสียหายกระทำหรือละเว้นกระทำการนั้นๆ ได้
        ***มาตรา ๓๒  กฎหมายให้อำนาจในการห้ามมิให้ผู้เสียหายกระทำการใดๆ ที่อาจทำให้คดีของพนักงานอัยการเสียหาย เฉพาะอัยการเท่านั้น แต่มิได้ให้อำนาจเช่นว่านี้แก่ผู้เสียหายด้วย
              มาตรา ๓๓  คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษา
              แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน
           ***มาตรา  การรวมคดีพิจารณา เมื่อรวมแล้วการฟังพยานหลักฐานต่างๆ จะต้องฟังทุกสำนวนรวมกันจะฟังว่าเป็นของโจทก์สำนวนนั้นสำนวนนี้ไม่ได้   แม้ว่าโจทก์อีกคนหนึ่งจะไม่ได้อ้างพยานหลักฐานนั้นก็ตาม ศาลนั้นๆ มีอำนาจสั่งให้รวมพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน เมื่อศาลเห็นชอบโดยพลการหรือโดยโจทก์ยื่นคำร้องในระยะใดก่อนมีคำพิพากษา
              แต่ทว่าจะมีคำสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับความยินยอมของศาลอื่นนั้นก่อน
           ***มาตรา  การรวมคดีพิจารณา เมื่อรวมแล้วการฟังพยานหลักฐานต่างๆ จะต้องฟังทุกสำนวนรวมกันจะฟังว่าเป็นของโจทก์สำนวนนั้นสำนวนนี้ไม่ได้   แม้ว่าโจทก์อีกคนหนึ่งจะไม่ได้อ้างพยานหลักฐานนั้นก็ตาม

@@@ จะเห็นได้ว่า อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการและผู้เสียหายตามมาตรา ๒๘ เป็นอำนาจของพนักงานอัยการและอำนาจของผู้เสียหายแยกเป็นอิสระจากกัน โดยจะพิจารณาได้จากมาตรา ๓๓ "...คดีอาญาเรื่องเดียวกันซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างได้ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นศาลเดียวกันหรือต่างศาลกัน..."  และมาตรา ๓๔ ยังรับรองสิทธิของผู้เสียหายในกรณีที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องคดีด้วยว่า

มาตรา ๓๔ คำสั่งไม่ฟ้องคดีหาตัดสิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีเองโดยชอบไม่
ดังนั้น อำนาจฟ้องคดีของพนักงานอัยการกับอำนาจของผู้เสียหายจึงแยกจากกัน จะนำหลักเรื่องการฟ้องซ้อน ตาม วิ.แพ่ง มาตรา ๑๗๓ วรรคสอง (๑) ประกอบ วิ.อาญา มาตรา ๑๕ มาบังคับใช้ไม่ได้

ในกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคน บางคนถึงแก่ความตาย บางคนได้รับอันตรายสาหัส หรือบางคนได้รับอันตรายแก่กาย ในกรณีเช่นนี้ แม้ความผิดกรรมเดียว และผู้เสียหายคนใดคนหนึ่งได้เป็นดจทก์ฟ้องจำเลยผู้กระทำผิดไปแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายคนอื่นๆที่จะยื่นฟ้องจำเลยในคดีเรื่องเดียวกันนั้นอีก เพราะ วิ.อาญา ไม่ได้บัญัติห้ามผู้เสียหายคนอื่นฟ้องผู้กระทำผิดอีก เพราะผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีหลังเป้นคนละคนกับผู้เสียหายซึ่งเป็นโจทก์ในคดีแรก

By ณัชกานต์



วันพุธที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2560

สิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา


สิทธิของผู้ต้องหา

            ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำผิดแต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล (ป.วิ.อาญา มาตรา ๒ (๒)) ซึ่งผู้ต้องหาอาจเป็นผู้ที่ยังไม่ถูกจับกุมก็ได้ เมื่อผู้ต้องหาถูกจับกุมในเรื่องที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา ผู้ต้องหามีสิทธิดังนี้
            ๑. สิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติ หรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรก (ป.วิ.อาญา มาตรา ๗/๑)
            ๒. สิทธิที่จะพบและปรึกษาผู้ที่จะเป็นทนายความสองต่อสอง
            ๓. สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติตามสมควร
            ๔. สิทธิได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
            ๕. สิทธิได้รับการแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้จับว่าผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิตามข้อ ๑ ถึง ๔
            ๖. สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนโดยเร็ว และได้รับทราบการแจ้งสิทธิต่างๆ จากพนักงานสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔)
            ๗. สิทธิให้ทนายความหรือผู้ที่ตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำของผู้ต้องหา (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๓)
            ๘. สิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๔)
            ๙. สิทธิที่จะไม่ถูกบังคับขู่เข็ญ ล่อลวง ให้สัญญาเพื่อให้การ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๕)
            ๑๐. สิทธิของผู้ต้องหาที่เป็นเด็กและเยาวชนที่จะได้รับการสอบสวนคดีบางประเภทโดยมีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ พนักงานอัยการและทนายความเข้าร่วมฟังการสอบสวน (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๒)
            ๑๑. สิทธิที่จะได้รับการประกันตัว (ป.วิ.อาญา มาตรา ๘๔/๑, ๑๐๖)
            ๑๒. สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งปล่อยตัวหากมีการควบคุมตัวโดยมิชอบ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๙๐)
            ๑๓. สิทธิได้รับการจัดหาทนายกรณีคดีมีอัตราโทษประหารชีวิต หรือผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปี และในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกหากผู้ต้องหาไม่มีทนายและต้องการทนาย พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔/๑)
            ๑๔. สิทธิที่จะได้รับแจ้งถึงพฤติการณ์ และการกระทำที่ถูกกล่าวหา ก่อนการถูกแจ้งข้อกล่าวหา (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓๔)
            ๑๕. สิทธิได้รับการจัดหาล่าม (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓)

สิทธิของจำเลย

            จำเลย หมายถึง ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกจับที่ถูกฟ้องต่อศาลแล้วว่าได้กระทำความผิดอาญา (ป.วิ.อาญา มาตรา ๒ (๓) จำเลย มีสิทธิดังนี้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๘)
            ๑. สิทธิได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม
            ๒. สิทธิแต่งตั้งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
            ๓. สิทธิปรึกษากับทนายความหรือผู้ที่จะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
            ๔. ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน ภาพถ่าย และขอคัดถ่ายสำเนา
            ๕. ตรวจหรือคัดสำเนาคำให้การและเอกสารประกอบคำให้การของตนในชั้นสอบสวน
            ๖. สิทธิได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาของศาล (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๐๖)
            ๗. สิทธิได้รับการจัดหาล่าม (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๓)
            ๘. สิทธิได้รับการจัดหาทนายกรณีคดีมีอัตราโทษประหารชีวิต หรือในคดีที่มีอัตราโทษจำคุกซึ่งจำเลยไม่มีทนายและต้องการทนายศาลต้องจัดหาทนายให้ (ป.วิ.อาญา มาตรา ๑๗๓)


By ณัชกานต์

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผู้เสียหายในคดีอาญา

สวัสดีค่ะ แนะนำตัวอย่างเป็นทางการจากมือใหม่หัดเขียนนะคะ เจ้าของบล็อกนี้ทำงานด้านกฎหมายค่ะ ปัจจุบันประกอบอาชีพทนายความ เวลาว่างๆอยากจะแบ่งปันความรู้และประสพการณ์แก่น้องๆ หรือผู้ที่สนใจได้มาอ่านกันบ้าง วันนี้ ขอเริ่มจากหลักง่ายๆ ในความเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาก่อนนะคะ หากขาดตกพลาดบกพร่องประการใดรบกวนผู้รู้แนะนำเพิ่มเติมด้วยค่ะ

มาตรา ๕ บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
               () ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
               () ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
               () ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
           ***มาตรา ๕ (๑)  ผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นถ้าเป็นบิดาต้องชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำผิดต่อผู้เยาว์นั้นไม่จำต้องบาดเจ็บหรือตาย  และผู้เยาว์สามารถร้องทุกข์เองได้  เมื่อผู้เยาว์ได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจะถอนคำร้องทุกข์โดยขัดกับความประสงค์ของผู้เยาว์ไม่ได้แต่จะฟ้องคดีเองไม่ได้ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีให้   ส่วนผู้ไร้ความสามารถนั้นร้องทุกข์เองไม่ได้
              (๒)  บุพการี ผู้สืบสันดานถือตามความเป็นจริง คือ ตามสายโลหิตเฉพาะที่ตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้  ดังนั้น  หากเป็นบิดาที่มิชอบจะฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ ตาม (๑)  ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายก็สามารถฟ้องผู้ที่กระทำผิด ตาม (๒) นี้ได้  แต่หากเป็นในกรณีที่เป็นบิดาที่มิชอบจะฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ที่ถูกทำร้ายไม่ถึงขั้นบาดเจ็บหรือตายซึ่งไม่เข้ากับ (๒) และต้องห้ามตาม (๑)  บิดาโดยมิชอบนั้นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ตาม มาตรา ๖ ได้   อย่างไรก็ตามหากผู้แทนโดยชอบธรรมถูกถอนอำนาจปกครองซึ่งไม่อาจฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ได้ แต่หากเข้าเงื่อนไข ตาม (๒)  ผู้แทนโดยชอบธรรมที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีได้ในฐานะเป็นผู้บุพการี ตามมาตรา ๕ (๒)   เนื่องจาก (๒) นี้  ไม่ใช่เรื่องของการใช้อำนาจปกครอง แต่เป็นการจัดการแทน  ส่วนบุตรบุญธรรมแม้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าเป็นเหมือนผู้สืบสันดานนั้นก็เฉพาะแต่ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งเท่านั้น  แต่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน  ดังนั้น  บุตรบุญธรรมจึงจัดการแทนไม่ได้   และเช่นกันเมื่อบุตรบุญธรรมถูกทำร้ายจนตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้  ผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนคือบิดามารดาที่แท้จริงเท่านั้น แต่หากบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้รับบุตรบุญธรรมถูกผู้อื่นกระทำเข้าเงื่อนไข ตาม (๑)  แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีอำนาจจัดการแทนตาม (๑)  ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอศาลตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ตามมาตรา ๖ ได้เช่นกัน

               (๓) ผู้จัดการกระทำแทนนิติบุคคล ถ้าผู้จัดการกระทำความผิดเสียเอง ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนถือว่าจัดการแทนได้

มาตรา ๖ ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้นๆ ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
             เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
              ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
           ***มาตรา ๖  เป็นอำนาจของศาลที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดี  เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว ผู้ใดจะมาร้องขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และการร้องขอตั้งตามมาตรานี้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ผู้วิกลจริตหรือผู้ไร้ความสามารถยังมีชีวิตอยู่ถ้าเสียชีวิตไปแล้วจะขอตั้งไม่ได้

By ณัชกานต์ สิทธิวิริยะชัย (กานต์)


มุมมองทิเบตในสายตาของข้าพเจ้า

  ตอนที่ ๑           บทความวันนี้ข้าพจ้ามีความตั้งใจขอเสนอเรื่องราวของชาวทิเบต หลายท่านที่เคยติดตามข้าพเจ้ามาก่อนหน้านี้ จะทราบว่าข้าพเจ้ามี...