วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ผู้เสียหายในคดีอาญา

สวัสดีค่ะ แนะนำตัวอย่างเป็นทางการจากมือใหม่หัดเขียนนะคะ เจ้าของบล็อกนี้ทำงานด้านกฎหมายค่ะ ปัจจุบันประกอบอาชีพทนายความ เวลาว่างๆอยากจะแบ่งปันความรู้และประสพการณ์แก่น้องๆ หรือผู้ที่สนใจได้มาอ่านกันบ้าง วันนี้ ขอเริ่มจากหลักง่ายๆ ในความเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาก่อนนะคะ หากขาดตกพลาดบกพร่องประการใดรบกวนผู้รู้แนะนำเพิ่มเติมด้วยค่ะ

มาตรา ๕ บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
               () ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
               () ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
               () ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
           ***มาตรา ๕ (๑)  ผู้แทนโดยชอบธรรมนั้นถ้าเป็นบิดาต้องชอบด้วยกฎหมาย และการกระทำผิดต่อผู้เยาว์นั้นไม่จำต้องบาดเจ็บหรือตาย  และผู้เยาว์สามารถร้องทุกข์เองได้  เมื่อผู้เยาว์ได้ร้องทุกข์ในความผิดต่อส่วนตัวไว้แล้วผู้แทนโดยชอบธรรมจะถอนคำร้องทุกข์โดยขัดกับความประสงค์ของผู้เยาว์ไม่ได้แต่จะฟ้องคดีเองไม่ได้ต้องให้ผู้แทนโดยชอบธรรมฟ้องคดีให้   ส่วนผู้ไร้ความสามารถนั้นร้องทุกข์เองไม่ได้
              (๒)  บุพการี ผู้สืบสันดานถือตามความเป็นจริง คือ ตามสายโลหิตเฉพาะที่ตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้  ดังนั้น  หากเป็นบิดาที่มิชอบจะฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ ตาม (๑)  ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมายก็สามารถฟ้องผู้ที่กระทำผิด ตาม (๒) นี้ได้  แต่หากเป็นในกรณีที่เป็นบิดาที่มิชอบจะฟ้องแทนบุตรผู้เยาว์ที่ถูกทำร้ายไม่ถึงขั้นบาดเจ็บหรือตายซึ่งไม่เข้ากับ (๒) และต้องห้ามตาม (๑)  บิดาโดยมิชอบนั้นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ตาม มาตรา ๖ ได้   อย่างไรก็ตามหากผู้แทนโดยชอบธรรมถูกถอนอำนาจปกครองซึ่งไม่อาจฟ้องคดีแทนบุตรผู้เยาว์ได้ แต่หากเข้าเงื่อนไข ตาม (๒)  ผู้แทนโดยชอบธรรมที่ถูกถอนอำนาจปกครองนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีได้ในฐานะเป็นผู้บุพการี ตามมาตรา ๕ (๒)   เนื่องจาก (๒) นี้  ไม่ใช่เรื่องของการใช้อำนาจปกครอง แต่เป็นการจัดการแทน  ส่วนบุตรบุญธรรมแม้ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้ถือว่าเป็นเหมือนผู้สืบสันดานนั้นก็เฉพาะแต่ให้มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งเท่านั้น  แต่ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน  ดังนั้น  บุตรบุญธรรมจึงจัดการแทนไม่ได้   และเช่นกันเมื่อบุตรบุญธรรมถูกทำร้ายจนตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้  ผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนคือบิดามารดาที่แท้จริงเท่านั้น แต่หากบุตรบุญธรรมที่เป็นผู้เยาว์อยู่ในความปกครองของผู้รับบุตรบุญธรรมถูกผู้อื่นกระทำเข้าเงื่อนไข ตาม (๑)  แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีอำนาจจัดการแทนตาม (๑)  ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องขอศาลตั้งตนเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ตามมาตรา ๖ ได้เช่นกัน

               (๓) ผู้จัดการกระทำแทนนิติบุคคล ถ้าผู้จัดการกระทำความผิดเสียเอง ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนถือว่าจัดการแทนได้

มาตรา ๖ ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้นๆ ญาติของผู้นั้น หรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องอาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้
             เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน
              ห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี
           ***มาตรา ๖  เป็นอำนาจของศาลที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดี  เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว ผู้ใดจะมาร้องขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้ และการร้องขอตั้งตามมาตรานี้ ต้องเป็นกรณีที่ผู้เยาว์ผู้วิกลจริตหรือผู้ไร้ความสามารถยังมีชีวิตอยู่ถ้าเสียชีวิตไปแล้วจะขอตั้งไม่ได้

By ณัชกานต์ สิทธิวิริยะชัย (กานต์)


ไม่มีความคิดเห็น:

มุมมองทิเบตในสายตาของข้าพเจ้า

  ตอนที่ ๑           บทความวันนี้ข้าพจ้ามีความตั้งใจขอเสนอเรื่องราวของชาวทิเบต หลายท่านที่เคยติดตามข้าพเจ้ามาก่อนหน้านี้ จะทราบว่าข้าพเจ้ามี...