วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

มุมมองทิเบตในสายตาของข้าพเจ้า

 ตอนที่ ๑

          บทความวันนี้ข้าพจ้ามีความตั้งใจขอเสนอเรื่องราวของชาวทิเบต หลายท่านที่เคยติดตามข้าพเจ้ามาก่อนหน้านี้ จะทราบว่าข้าพเจ้ามีอาชีพทนายความ และมักเขียนบทความเกี่ยวกับกฎหมาย หรือข่าวอาชญากรรมและนำมาเสนอในแง่ของอาชญาวิทยา หลังจากหยุดเขียนบทความลง Blog ไปหลายปีเนื่องจากเหตุผลส่วนตัว แต่เมื่อ ๒-๓ วันมานี้ ข้าพเจ้าได้รับการร้องขอจากอาจารย์ของข้าพเจ้าให้เรียบเรียงเรื่องราวในทิเบต และมุมมองของข้าพเจ้าเพื่อนำไปสอนนักศึกษาสาขาสังคมศาสตร์ ในการนี้ข้าพเจ้าจึงถือโอกาสนำข้อมูลที่เรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟังในแบบสบายๆ อาจเป็นแนววิชาการนิดหน่อย แต่สำหรับท่านที่สนใจเรื่องราวของชนชาติทิเบตท่านตกตะลึงในสิ่งที่โลกภายนอกไม่รู้ หรืออาจรู้เพียงเล็กน้อย ขอแจ้งให้ทราบก่อนว่า ข้าพเจ้าไม่เคยไปทิเบต รู้จักทิเบตแต่เพียงในหนังสือสมัยเรียนมัธยม ซึ่งน้อยนิดมากรู้เพียงว่า ทิเบตเป็นเมืองที่กล่าวได้ว่า “หลังคาโลก” เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในที่สูงที่สุดในโลก อากาศแห้งแล้ง และมีหิมะ แค่นี้ที่ข้าพเจ้ารู้จักทิเบต อีกเรื่องคือ ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งปรากฏในนิยาย “เพชรพระอุมา” ที่ข้าพเจ้าติดงอมแงมสมัยเด็ก ๆ

         ไม่มีเหตุผลอันใดที่ทำให้ข้าพเจ้าสนใจทิเบตเป็นพิเศษ เพียงแต่ในระยะหลังมานี้ข้าพเจ้าสนใจเมือง “เฉิงตู” เมืองหลวงของมณฑลเฉฉวน ของประเทศจีน เป็นเมืองน้องแพนด้า ใช่ “แพนด้า” ของประเทศจีนมีศูนย์เพาะพันธุ์แพนด้ายักษ์อยู่ที่เมืองนี้ เฉิงตู มีภูเขา “สี่ดรุณนี” ที่สวยมาก ๆ มันปรากฏในซีรียส์จีนโบราณหลายเรื่องที่ข้าพเจ้าเคยผ่านตามาตั้งแต่ยังเด็ก ด้วยความสอดรู้สอดเห็นของข้าพเจ้า จากเมืองเฉิงตูข้าพเจ้าก็ศึกษาไปรอบๆ มณฑล ข้าพเจ้าพบ “หมู่บ้านทิเบต” และนั้นทำให้ข้าพเจ้าพบว่า ทิเบตไม่ใช่ “ประเทศ” เหมือนที่ข้าพเจ้ารับรู้มาตลอด แต่ทิเบตกลายเป็นส่วนหนึ่งจีนคอมมิวนิตส์ หลังจากนั้น ข้าพเจ้าก็เริ่มศึกษา เริ่มเรียนรู้ เริ่มสนใจในเรื่องราวของชาวทิเบตอย่างแท้จริง ประกอบกับข้าพเจ้าต้องทำข้อมูลการบรรยายทำให้สนใจลึกซึ้งเข้าไปอีก สิ่งที่ข้าพเจ้าค้นพบกลับทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกหดหู่ใจในชะตากรรมของประชาชนชาวทิเบต แต่ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป สิ่งข้าพเจ้าจะถ่ายทอดนี้อาจไม่ถูกใจรัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์เท่าไหร่ และนั่นอาจทำให้ข้าพเจ้าไม่อาจไปเที่ยวประเทศจีนได้ ซึ่งข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่า พวกเขาจะสนใจข้าพเจ้าหรือไม่ ถึงอย่างไร ข้าพเจ้าก็ยังยินดีที่จะนำเสนอข้อเท็จจริง และมุมมองของข้าพเจ้าให้บุคคลทั่วไปได้รับรู้ถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่ซ่อนอยู่หลังม่านไม้ไผ่

         ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอปูพื้นฐานเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้ทุกท่านได้ทราบไว้เป็นเบื้องต้นไว้ในตอนที่ ๑ นี้เสียก่อน เพื่อให้การศึกษาในตอนต่อ ๆ ไป จะได้เข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น หลังจากจบตอนนี้แล้วข้าพเจ้าจะไล่ไทม์ไลน์เรื่องราวในทิเบตให้ท่านได้ศึกษากันต่อไป  

ภูมิภาคและพื้นที่

ทิเบตเป็นภูมิภาคในเอเชียตะวันออกครอบคลุมมีพื้นที่ประมาณ 2,500,00 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นบ้านเกิดของชาวทิเบตและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ อีกหลายชนเผ่า ปัจจุบันมีชาวฮั่นและชาวหุยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้จำนวนมากเช่นกัน[1] ทิเบตเป็นภูมิภาคที่อยู่สูงที่สุดในโลกมีระดับความสูงเฉลี่ย 4,380 เมตร (14,000 ฟุต)[2] ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัยเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลก โดยอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 8,848.86 เมตร (29, 032 ฟุต)[3]

การก่อตั้ง

            จักรวรรดิทิเบตถูกก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โดยอยู่ในช่วงสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 9 โดยกินพื้นที่ไปไกลกว่าที่ราบสูงทิเบต สภาพแบ่งแยกปั่นป่วนในภูมิภาคกลางของจีนที่ดำเนินมาเป้นเวล่กว่า 300 ปี ได้สิ้นสุดลง ขณะที่วีรบุรุษซงแจ็นโป ราชวงศ์ยาร์ลุง ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาจักรดิวรรดิทิเบตอย่างเป็นทางการ และตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ในช่วงปกครองประเทศ พระเจ้าซงแจ็นกัมโป ได้ศึกษาเทคโนโลยีทางการผลิตและผลงานทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ทันสมัยของ ราชวงศ์ถัง และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรในด้านต่างๆ กับราชวงศ์ถัง ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังจากทิเบตได้รวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเป็นต้นมา แม้ว่าจีนจะมีหลายราชวงศ์ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองประเทศ แต่ทิเบตก้ยังอยู่ภายใต้การควบคุมของจีนตลอดมาไม่ว่าในราชวงศ์ใด 

      เมื่อระยะเริ่มต้นของการแตกสลายจักรวรรดินี้ถูกแบ่งออกเป็นหลายดินแดน โดยฝั่งทิเบตตะวันตกและกลางเรียกว่า “อวีจัง” ถูกรวมอยุ่ภายใต้รัฐบาลทิเบตในลาซ่า. ซีกาเจ และพื้นที่ใกล้เคียง ส่วนภุมิภาคคัมและอัมโตอยู่ทางฝั่งตะวันออกมีการกระจายอำนาจทางการเมืองของชนเผ่ามากขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจของจีน พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกผนวชเข้ากับมณฑลเสฉวน และมณฑลชิงไห่ของจีน ชายแดนปัจจุบันของทิเบตถูกกำหนดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18[4]

           หลังการปฎิวัติซินไฮ่ต่อราชวงค์ชิงใน ค.ศ. 1912 กองทัพราชวงศ์ชิงถูกสั่งให้ปลดอาวุธและคุ้มกันไม่ให้เขาไปพื้นที่ทิเบต ต่อมาภูมิภาคนี้ได้ประกาศเอกราชใน ค.ศ.1913 แต่รัฐบาลจีนไม่ยอมรับ[5] ภายหลังลาซาควบคุมส่วนตะวันตกของซีคางไว้ ภูมิภาคนี้ยังคงสถานะปกครองตนเองจนถึง ค.ศ.1951 หลังยุทธการซัมโต ทิเบตถูกยึดครองและผนวกเข้ากับประเทศจีน และรัฐบาลทิเบตก่อนหน้านี้ถูกยกเลิกใน ค.ศ.1959 หลังการก่อกำเริบล้มเหลว[6]
       
          ปัจจุบัน ประเทศจีนบริหารทิเบตตอนกลางและตะวันตกในฐานะเขตการปกครองตนเองทิเบต ส่วนฝั่งตะวันออกส่วนใหญ่เป็นเขตปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อยในมณพลเสฉวนม มณฑลชิงไห่ และมณฑลใกล้เคียงพื้นที่นี้มีความตึงเครียดกับสถานะทางการเมืองของทิเบต และกลุ่มผู้คัดค้านที่ยังพลัดถิ่น[7] และมีรายงานว่าผู้ประท้วงชาวทิเบตในทิเบตถูกจับและทรมาน[8]


[1] Altitude sickness may hinder ethnic integration in the worlds places Princeton Universitt. 1 July 2013.

[2] Witt, J.H. (24 February 2010) “Geology of the TibetanPlateau” 

[3] US Deartment of Commerce, National Oceanic and Atmospheric Administration. What is the highest point on Earth as measured from Earth’s center

[4] Goldstein, Melvyn, C., Change, Conflict and Continuity among a Community of Nomadic Pastort: A Case Study from Western Tibet, 1950-1990, 1994: What is Tibet? – Fact and Fancy, pp. 79-87

[5] Clark, Gregory, In fer of China, 1969, saying: ‘Tibet, although enjoying independence at certain periods of its history, had never been recognized by any single foreign power ar an independent stats. The closest it has ever come to such recognition was the British formula of 1943: suzerainty, combined with autonomy and the right to anter into diplomatic relations’

[6] Q&A: China and the Tibetans” BBC New (ภาษาอังกฤษแบบบริติช) สิงหาคม 15, 2011 

[7] Regions and territories: Tibet`” BBC New. ธันวาคม 11, 2010

[8] Wong, Edwaed (กุมภาพันธ์ 18, 1009). China Adds to Security Forces in Tibet Amid Calls for a Boycott” The New York Time. ISSN 0362-4331


มุมมองทิเบตในสายตาของข้าพเจ้า

  ตอนที่ ๑           บทความวันนี้ข้าพจ้ามีความตั้งใจขอเสนอเรื่องราวของชาวทิเบต หลายท่านที่เคยติดตามข้าพเจ้ามาก่อนหน้านี้ จะทราบว่าข้าพเจ้ามี...